เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ความว่า เห็น
ธาตุมีจักษุเป็นต้นที่นับเนื่องด้วยสันตติ และธาตุแม้อื่น ๆ ด้วยญาณจักษุว่า
เป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้นเป็นต้น. บทว่า มา ชาตึ
ปุนราคมิ
ความว่า อย่าเข้าถึงชาติ คือภพใหม่ต่อไปอีก. บทว่า ภเว ฉนฺทํ
วิราเชตฺวา
ความว่า ละฉันทะคือตัณหาในภพทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น
ด้วยมรรคกล่าวคือวิราคะ. บทว่า อุปสนฺตา จริสฺสสิ ความว่า จักเป็นผู้ดับ
เพราะละกิเลสได้ทั้งหมดอยู่.
อนึ่งในคาถานี้ ท่านแสดงวิปัสสนาโดยหัวข้อของทุกขานุปัสสนา ด้วย
บทนี้ว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ดังนี้. แสดงมรรค ด้วยบทนี้ว่า ภเว ฉนฺทํ
วิราเชตฺวา
ดังนี้. แสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า อนุปสนฺตา
จริสฺสสิ
ดังนี้. แสดงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า มา ชาตึ
ปุนราคมิ
ดังนี้ บัณฑิตพึงเห็นดังนี้แล.
จบ อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา

15. อุตตราเถรีคาถา


[416] เราเป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจา และใจ
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็น
ดับสนิทแล้ว.

จบ อุตตราเถรีคาถา

15. อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา


คาถาว่า กาเยน สํวุตา อาสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ
อุตตรา.

เรื่องของพระเถรีชื่ออุตตราแม้นั้น ก็เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อ
ติสสา ความย่อว่า พระเถรีชื่ออุตตราแม้นั้น ประสูติในศากยตระกูล เป็น
สนมของพระโพธิสัตว์ ออกบวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี บรรลุพระ-
อรหัตด้วยโอภาสคาถา ได้กล่าวคาถานี้เป็นอุทานด้วยตนเองทีเดียวว่า
เราเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกายวาจาและใจ ได้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็น ดับ
สนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน สํวุตา อาสึ ความว่า เป็นผู้
สำรวมแล้วด้วยความสำรวมทางกาย. บทว่า วาจาย ประกอบความว่า เป็น
ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมทางวาจา. พระเถรีกล่าวถึงศีลสังวรแม้ด้วยบท
ทั้งสอง. บทว่า อุท ได้แก่ อถ แปลว่า และ. บทว่า เจตสา ความว่า
ด้วยสมาธิจิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการเจริญวิปัสสนาด้วยสมาธิจิตนั้น.
บทว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ความว่า ถอนขึ้นซึ่งตัณหาพร้อมทั้งราก หรือ
พร้อมด้วยอวิชชา. ด้วยว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้นในภพสามที่อวิชชาปกปิดโทษไว้.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า กาเยน สํวุตา ความว่า เป็นผู้สำรวมทางกาย
ด้วยความสำรวมด้วยมรรคนั่นเอง เพราะละมิจฉากัมมันตะทั้งหมด ด้วยสัมมา
กัมมันตะ. บทว่า วาจาย ความว่า เป็นผู้สำรวมทางวาจาด้วยความสำรวม
ด้วยมรรคนั่นเอง เพราะละมิจฉาวาจาทั้งหมด ด้วยสัมมาวาจา. บทว่า เจตสา
ได้แก่ ด้วยสมาธิ. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวสัมมาสมาธิ ด้วยหัวข้อของจิต อธิบายว่า
มรรคธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันกับลักษณะ-
มรรค ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์คือสัมมาสมาธินั่นแล การละอสังวรมี
อภิชฌาเป็นต้นโดยไม่เหลือ ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยมรรคสังวร. เพราะ
เหตุนั้นแหละท่านจึงกล่าวว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ดังนี้. บทว่า สีติภูตามฺหิ

นิพฺพุตา ความว่า เป็นผู้ถึงความเย็น เพราะไม่มีความเร่าร้อนเพราะกิเลส
โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ดับสนิทด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
จบ อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา

16. วุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา


[417] ดูก่อนสุมนาผู้เจริญ เธอจงเอาท่อนผ้าทำ
จีวรนุ่งห่ม จงพักผ่อนให้สบายเถิด เพราะราคะของ
เธอสงบแล้ว เธอเป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

จบ วุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา

16. อรรถกถาวุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา


คาถาว่า สุขํ ตฺวํ วุฑฺฒิเก เสหิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้
บวชเมื่อแก่ชื่อสุมนา.
แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดเป็นพระภคินีของพระ-
เจ้ามหาโกศล ในกรุงสาวัตถี เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแก่พระเจ้า
ปเสนทิโกศล โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลสี่จำพวกเหล่านี้แล
ไม่พึงดูหมิ่นว่าหนุ่ม ดังนี้ ได้ความเลื่อมใส ตั้งอยู่ในสรณะและศีลห้า แม้
ประสงค์จะบวช ก็ต้องปล่อยให้เวลาล่วงไปนาน เพราะคิดว่า ต้องปฏิบัติดูแล
พระเจ้าย่า ต่อมาเมื่อพระเจ้าย่าสิ้นพระชนม์แล้ว เธอให้คนถือเครื่องปูลาด